สารพันความรู้ทางด้านการเงิน ที่จะช่วยทำให้ “เงินเก็บ” ในชีวิตของคุณมีเพิ่มมากขึ้น พร้อมแนวทางการสร้างความมั่นคงในทุกจังหวะชีวิต ผ่านผลิตภัณฑ์ทางการเงินหลากหลาย ที่จะช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้ง่ายๆ โดยเริ่มต้นจากการแบ่งเก็บออมแค่เพียงวันละไม่กี่บาทเท่านั้น
เปลี่ยนรายจ่ายที่ไม่แน่นอน ควบคุมไม่ได้ ให้เป็นรายจ่ายที่วางแผน บริหารจัดการได้ มีหลายแบบให้คุณเลือกได้อย่างเหมาะสม
ให้คำปรึกษาโดยมืออาชีพ วางแผนการเงินอย่างเป็นระบบ ด้วยผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์ ความฝัน และเป้าหมายการเงินที่เหมาะสม
บริหารการเงินให้ตอบโจทย์ทุกคนในครอบครัว วางแผนการเงินเพื่ออนาคต ด้วยเครื่องมือทางการเงินระดับโลก
การประกันชีวิต (Life Insurance) หมายถึง การที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า “ผู้เอาประกันภัย” ได้จ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “เบี้ยประกันภัย” ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ให้กับบริษัทประกันชีวิต เพื่อซื้อความคุ้มครองการเสียชีวิต ครอบคลุมไปถึงการสูญเสียอวัยวะ การทุพพลภาพ การบาดเจ็บหรือเจ็บป่วย ภายในเวลาที่กำหนด หรือมีอายุยืนยาวจนครบกำหนดตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเรียกว่า “จำนวนเงินเอาประกันภัย” ให้แก่ “ผู้รับผลประโยชน์” หรือผู้เอาประกันภัยแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เงื่อนไขความคุ้มครองจะมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการเลือกซื้อตามความเหมาะสมของผู้เอาประกันภัยเป็นหลัก
ผู้เอาประกันภัย คือ บุคคลที่ตกลงทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันชีวิต โดยอาศัยสาเหตุของการมีชีวิตหรือการตายเป็นเงื่อนไขในการจ่ายเงินประกันชีวิต
ผู้รับผลประโยชน์ คือ บุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันชีวิต ว่าจะเป็นผู้ได้รับเงินประกันชีวิตตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้รับผลประโยชน์อาจเป็นบุคคลเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้
ข้อควรทราบคือ คุณลูกค้าสามารถทำ ประกันชีวิต ได้มากกว่า 1 ฉบับ และแต่ละแบบของกรมธรรม์นั้น ก็ออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่ต่างกันไปครับ เช่น เพื่อการออม ก็ยังแบ่งเป็น การออมระยะสั้น ระยะยาว หรือการคุ้มครองชีวิตทุนสูง ก็เหมาะกับการเป็นแบบประกันพื้นฐานฉบับแรกที่ทุกคนควรทำ
เมื่อถึงเวลาที่เราทำงานไประยะหนึ่ง มีรายได้มากขึ้น เสียภาษีมากขึ้น การทำประกันชีวิตแบบที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ก็เป็นแบบที่ตอบโจทย์ เพราะได้ทั้งออมเงิน ได้ความคุ้มครอง ได้ผลตอบแทน แล้วยังได้ลดหย่อนภาษีอีกด้วย
สรุปได้ว่า ไม่มีประกันชีวิตที่ดีที่สุด มีแต่ประกันชีวิตที่เหมาะสมที่สุด ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งครับ ที่สำคัญ เราต้องดูกำลังในการจ่ายเงิน การส่งเบี้ยประกัน เลือกในแบบที่เราจ่ายไว้ ออมไว้ ไม่ใช่จ่ายปีแรกได้ แต่ต้องหยุดส่งในปีต่อไป
ทุนประกันคือ เงินที่ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับ ถ้าผู้เอาประกันจากไปก่อนวัยอันควร (ก่อนครบสัญญา) จะทำทุนประกันสัก 500,000 บาท หรือ 10,000,000 บาท คงไม่มีใครตอบแทนได้ว่า ทำเท่าไหร่ดี นี่เป็นเรื่องที่คุณต้องตัดสินใจอย่างถี่ถ้วน และเราขอแนะนำว่า ก่อนอื่นเลย คุณต้องหาเหตุผลความจำเป็นว่าทำไมถึงต้องมีประกันชีวิต
ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการมีเงินเก็บ 2 ล้านบาทเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ คุณต้องเลือกแบบประกันที่มีเงินออมให้คุณได้เท่ากับ 2 ล้านบาทในอนาคต หรือถ้าคิดว่าจะทำประกันชีวิตเพื่อสร้างเป็นมรดกให้กับลูก ในวันที่คุณจากไป คิดว่าต้องมีเงินมากเท่าไหร่ ถึงจะพอเพียง ก็ทำทุนประกันตามนั้นได้เลย
ทั้งนี้ คุณต้องพิจารณาความสามารถในการชำระเบี้ยประกัน (รายเดือนหรือรายปี) ให้สอดคล้องกับรายรับของคุณด้วย ก่อนจะตัดสินใจเลือกแผนประกันชีวิตและค่าเบี้ยประกัน
เรายินดีให้คำปรึกษา หรือสามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญทางการเงินของเราได้ตลอดเวลา เพราะเราเข้าใจทุกความต้องการและสถานการณ์ที่แตกต่างของแต่ละคน
บริษัทพร้อมที่จะดูแลช่วยเหลือคุณ หากประสบปัญหาไม่สามารถชำระเบี้ยประกันต่อได้ ยังมีหลากหลายทางเลือกเพื่อช่วยผ่อนคลายปัญหาของคุณ ดังต่อไปนี้
คือแนวทางในการแก้ปัญหาทั้งหมด แต่ก่อนตัดสินใจขอให้คุณมั่นใจว่าคุณได้ปรึกษาเราเพื่อหาแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับคุณ เพราะเมื่อคุณประสบปัญหาทางการเงิน การละทิ้งกรมธรรม์หรือหายไปเฉยๆ นั้นไม่ใช่ทางออกที่ดี นอกจากจะทำให้ความคุ้มครองจากกรมธรรม์ของคุณสิ้นสุดลงแล้ว ยังทำให้คุณสูญเสียเบี้ยประกันส่วนหนึ่งที่ได้ชำระไปแล้วอีกด้วย
หากคุณประสบปัญหา เราพร้อมช่วยเหลือและยินดีเสนอแนวทางในกรณีที่มีปัญหาการชำระค่าเบี้ยประกัน ติดต่อหาเราที่โทร. 1351
IPD หมายถึง ผู้ป่วยใน หรือคนไข้ในโรงพยาบาล
คำภาษาอังกฤษแบบฉบับเต็ม ๆ คือ In Patient department ใช้เรียกคนไข้ที่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 6 ชั่วโมง เช่น นายเอฟป่วยไข้หวัดใหญ่ ต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจัดเป็นคนไข้แบบ IPD เพื่อทำการแอดมิดรักษาตัวนั้นเอง
OPD คือ ผู้ป่วยนอก ย่อมาจาก Out Patient Department
การรักษาแบบ OPD เป็นผู้ป่วยที่รับการรักษาแบบไม่ต้องนอนพักรักษาตัว สามารถไปกลับระหว่างโรงพยาบาลและบ้านได้นั้นเองครับผม สามารถรักษาตัวที่แผนกผู้ป่วยนอกได้เลย
Fax claim เป็นบริการที่บริษัทประกันเปิดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ผู้เอาประกัน ในการจ่ายชดเชยค่ารักษาพยาบาล โดยผ่านโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้ไม่จำเป็นต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน โดยโรงพยาบาลจะทำเรื่องหักค่าใช้จ่ายกับบริษัทประกันโดยตรง ผู้ใช้บริการจะชำระเพียงส่วนเกินจากวงเงินค่ารักษาเท่านั้น
เพียงแสดงบัตรเอฟดับบลิวดี แคร์การ์ด ที่โรงพยาบาลเครือข่ายและคลินิกกว่า 400 แห่งทั่วประเทศ ก็รับการรักษาได้ทันที ไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า
หากคุณลืมบัตรเอฟดับบลิวดี แคร์การ์ด หรือจำเป็นต้องสำรองจ่ายล่วงหน้า คุณสามารถที่จะยื่นเรียกร้องสินไหม โดยส่งเอกสารค่าใช้จ่าย (ใบเสร็จ หรือเอกสารประกอบใดๆ) ตามขั้นตอนการเรียกร้องสินไหม โดยปกติ
*ใช้กับโรงพยาบาลและคลีนิกในเครือข่ายของเราเท่านั้น
ตรวจสอบโรงพยาบาลในเครือใกล้บ้าน
https://www.fwd.co.th/th/hospital-network/
keptsatang ใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)